บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน บริบทและสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning ) โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม 3) เพื่อศึกษาทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning ) โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 51 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 487 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 217 คนได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แล้วสุ่มอย่างง่ายอีกครั้งด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning ) แบบตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าความเชื่อมั่น .99 แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน มีค่าความเชื่อ .94 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณลักษณะในการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่น .95 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .93และแบบสอบถามเพื่อ การประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าเฉลี่ยร้อยละ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสถิติการบรรยาย
สรุปผลการวิจัย
1. การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน บริบท สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning )โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม พบว่า ครูผู้สอนต้องการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ จำนวน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหาร (Management : M) 2) ด้านกลยุทธ์ (Strategy Management : S) 3) ด้านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) 4) ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 5) ด้านการประเมินผล (Evaluation : E) และ 6) ด้านความพึงพอใจ (Satisfaction : S) โดยผลการตรวจสอบความเหมาะสมและนำไปใช้ได้ของรูปแบบการบริหารโรงเรียน และองค์ประกอบ พบว่า มีความเหมาะสมและนำไปใช้ได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม พบว่า ครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกชั้นเรียน ปีการศึกษา 2559 สูงกว่าปีการศึกษา 2558 อยู่ระหว่าง 3.32 – 7.66 นักเรียนมีคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ อยู่ในระดับดีมาก ทั้งด้านการวางแผนการเรียนรู้ ด้านการเลือกกระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาทักษะการคิด การแสวงหาแหล่งเรียนรู้ และด้านการประเมินผล ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งด้านการบริหาร ด้านการกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านการประเมินผล และด้านความพึงพอใจ
4. การประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม พบว่า โดยรวมรูปแบบการบริหารโรงเรียน มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
|