บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองวิชาเคมีโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการนำตนเอง และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผู้วิจัย นางสาวจีรนันท์ จันทยุทธ
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองวิชาเคมีโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการนำตนเอง และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองวิชาเคมีโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองวิชาเคมีโดยใช้
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการนำตนเอง แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ
(t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองวิชาเคมีโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการนำตนเอง และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีชื่อว่า “DISGTRS Model” มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการสอน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นวินิจฉัย (Diagnosis : D) (2) ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration : I) (3) ขั้นเสริมสร้างกลยุทธ์ (Strategies : S) (4) ขั้นปลูกฝังนิสัย (Growing in habit : G) (5) ขั้นถ่ายทอดความรู้ (Transferring knowledge : T) (6) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection : R) (7) ขั้นสรุปและประเมินผล (Summarizing and Assessing : S) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน โดยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองวิชาเคมีโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.84/82.50
2. ประสิทธิผลของรูปแบบ“DISGTRS Model” พบว่า
2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบ
“DISGTRS Model” แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2.2) พฤติกรรมการนำตนเองของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบ
“DISGTRS Model” แตกต่างกันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่า (X ̅) = 3.79 และ (S.D) = 0.20
ค่า t = 9.72 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลัง
การเรียนด้วยรูปแบบ “DISGTRS Model” พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2.4 ผลการประเมินการคิดขั้นสูงของนักเรียน จากการประเมินโครงงาน
วิทยาศาสตร์หลังเรียนด้วยรูปแบบ “DISGTRS Model” พบว่าคะแนนเฉลี่ยการคิดขั้นสูงของนักเรียนอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 87.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80
2.5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบ “DISGTRS Model”
พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากมีค่า (X ̅) = 4.43, และ (S.D.) = 0.40
คำสำคัญ : รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบนำตนเองวิชาเคมี, แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น,
พฤติกรรมการนำตนเอง, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 ประเทศไทย
Email : Cheeranant2511tk@gmail.com Tel : 0899407480
|